วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รายงานวิจัย

เค้าโครงงานวิจัย

ชื่อเรื่องการวิจัย : การดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอผาขาว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2
ชื่อผู้เขียน : นายเหรียญชัย กรรณลา
ชื่อปริญญา : ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขาวิชา : การบริหารการศึกษา
ปีการศึกษา : 2552
อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.เอกฉัท จารุเมธีชน , อาจารย์ ดร.บุญแช่ม ดู่ป้อง
อาจารย์ ดร.นาค เกินชัย , อาจารย์ทัศนะ เกตุมณี

วัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหา การดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอผาขาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2
2. เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหา การดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอผาขาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และประสบการณ์การทำงาน
ความสำคัญในการศึกษาค้นคว้า
ผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ อาจเป็นประโยชน์ต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 และผู้บริหารในการวางแผนเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของโรงเรียนให้สอดคล้องกับแนวนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

คำถามในการวิศึกษาค้นคว้า
1. สภาพและปัญหาการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอผาขาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนอยู่ในระดับใด
2. สภาพและปัญหาการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอผาขาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน จำแนกตามประเภท และประสบการณ์การทำงานอยู่ในระดับใด
สมมติฐานในการศึกษาค้นคว้า
1. การดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอผาขาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 มีความคิดเห็นแตกต่างกัน
2. การดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอผาขาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และประสบการณ์การทำงาน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน
กรอบความคิดในการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาซึ่งประกอบด้วยการปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน และการปฏิรูประบบบริหารการศึกษา ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2544 (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา, 2544 : หน้า 13) โดยศึกษากับข้าราชการครูซึ่งจำแนกตามขนาดโรงเรียน และประสบการณ์การทำงาน เป็นตัวแปรในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังกรอบความคิดการวิจัยดังนี้

ภาพที่ 1 กรอบความคิดในการศึกษาค้นคว้า

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม





ขอบเขตในการศึกษาค้นคว้า
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เกี่ยวกับการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอผาขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 4 ด้าน คือ การปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน การปฏิรูประบบบริหารการศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2544 (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา, 2544 : 13)
2. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2.1 ประชากรประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอผาขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 360 คน
2.2 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 186 คน ตามตารางกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเคร็จซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Mogan, 1970,p.607- 608) โดยสุ่มแบบง่าย (simple random sampling) จากทุกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอผาขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 โดยการคำนวณสัดส่วนระหว่างประชากรและกลุ่มตัวอย่างประชากร
3. ขอบเขตด้านตัวแปร
3.1 ตัวแปรต้นได้แก่ ขนาดของสถานศึกษาและประสบการณ์ทำงานแยกได้ ดังนี้
3.1.1 ขนาดของสถานศึกษา
3.1.1.1 สถานศึกษาขนาดเล็ก
3.1.1.2 สถานศึกษาขนาดใหญ่
3.1.2 ประสบการณ์
3.1.2.1 น้อยกว่า 10 ปี
3.1.2.2 10-20 ปี
3.1.2.3 21 ปีขึ้นไป
3.2 ตัวแปรตามได้แก่ สภาพและปัญหา การดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอผาขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 จำแนกออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
3.2.1 การปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา
3.2.2 การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา
3.2.3 การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน
3.2.4 การปฏิรูประบบบริหารการศึกษา
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. การดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษา หมายถึง การพัฒนาหรือปรับปรุงการศึกษาของสถานศึกษา ในอำเภอผาขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแนวนโยบายการปฏิรูปการศึกษาโดยจำแนกการดำเนินงานการปฏิรูปการศึกษาเป็น 4 ด้าน ดังนี้ (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา, 2544 : 13)
1.1 การปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา หมายถึง การปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ และบริเวณโรงเรียนให้ดีอยู่เสมอ จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน สื่ออุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้มีบรรยากาศ เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
1.2 การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา หมายถึง การจัดแหล่งความรู้สำหรับครู
สร้างความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ชื่นชมยกย่องสร้างขวัญกำลังใจ ให้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
1.3 การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน หมายถึง การจัดเตรียมห้อง ปฏิบัติการต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ห้องสมุด สื่ออุปกรณ์การเรียน การสอน วิธีการสอนตลอดจน พัฒนาครูผู้สอนในด้านวิชาการ การใช้แหล่งความรู้ในชุมชน การวัดประเมินผล
1.4 การปฏิรูประบบบริหารการศึกษา หมายถึง การมีสิ่งอำนวยความสะดวก ในการ ปฏิบัติงานที่มีคุณภาพทันสมัย ระบบข้อมูลครบถ้วนถูกต้อง กรรมการโรงเรียน หน่วยงาน องค์กรท้องถิ่นและชุมชนในการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน รวมทั้งวางแผนการจัดระบบการติดตาม นิเทศและประเมินผล
2. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอผาขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2
3. สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง สถานศึกษาของรัฐในอำเภอผาขาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2
4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2 หมายถึง หน่วยงานทางการศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินกระทรวง ศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของจังหวัดเลย
5. ขนาดของสถานศึกษา หมายถึง การกำหนดขนาดของโรงเรียนโดยใช้จำนวนนักเรียนเป็นเกณฑ์ ในการแบ่งขนาดของโรงเรียนตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) แบ่งเป็น 2 ขนาด คือ
5.1 ขนาดเล็ก หมายถึง สถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนไม่เกิน 300 คน
5.2 ขนาดใหญ่ หมายถึง สถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 301 คนขึ้นไป
6. ประสบการณ์ หมายถึง ระยะเวลาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ปฏิบัติงาน ในโรงเรียนตั้งแต่เริ่มบรรจุ ถึงปัจจุบัน ซึ่งในการศึกษาค้นคว้า ครั้งนี้จำแนกประสบการณ์ของข้าราชการครูและบุลากรทางการศึกษา โดยใช้ระยะเวลาเฉลี่ยของข้าราชการครูกลุ่มตัวอย่าง
กำหนดประสบการณ์ และในการศึกษา ค้นคว้า นี้จำแนกประสบการณ์ของผู้บริหารและครูผู้สอน เป็น 3 ระดับ ดังนี้
6.1 น้อยกว่า 10 ปี
6.2 10 - 20 ปี
6.3 21 ปีขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น